วิธีสอนลูกให้มีความรับผิดชอบ
การแสดงตัวอย่างที่ดีเป็นวิธีที่มีผลมากในการสอนลูกให้มีความรับผิดชอบ พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างในการรับผิดชอบตัวเอง แสดงให้ลูกเห็นถึงความเอื้ออำนวยและการรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน
หากคุณไม่ต้องการให้ลูกออกจากโต๊ะอาหารเย็นระหว่างมื้ออาหาร คุณก็ไม่ควรออกจากโต๊ะเพื่อตรวจสอบโทรศัพท์ของคุณ ถ้าคุณไม่ต้องการให้ลูกตะโกนก็อย่าตะโกนตัวเอง เมื่อลูกเห็นพ่อแม่ที่รับผิดชอบอย่างมีระเบียบ พวกเขาจะมีแรงบันดาลใจในการรับผิดชอบเช่นกัน
แสดงให้ลูกเห็นถึงสิ่งที่คาดหวัง แสดงให้เขาเห็นว่าต้องทำอย่างไร สมมติว่าต้องการให้ลูกกวาดพื้น แม้ว่าเด็กอาจเคยเห็นและใช้ไม้กวาดและที่โกยผงที่โรงเรียนมอนเตสซอรี่อยู่แล้ว แต่พ่อแม่ก็ยังควรสาธิตงานนี้ที่บ้าน
ขั้นแรกให้มอบเครื่องมือที่เหมาะกับมือและส่วนสูงให้ลูก ตั้งชื่อเครื่องมือตามที่คุณใช้ “งานนี้เรียกว่าการกวาดพื้น ดู Daddy นะ.. Daddy ใช้ไม้กวาดกวาดพื้น จากนั้นย้ายสิ่งที่ Daddy กวาดไปใส่ที่ตักขยะ และตอนนี้ Daddy กำลังทิ้งมันลงถังขยะ ตอนนี้ถึงตาลูกแล้ว”
-ชุดทำความสะอาดเด็ก-https://bit.ly/3wsOR0f
ทำงานร่วมกันในช่วง 2-3 ครั้งแรกเพื่อให้รู้ว่าลูกเข้าใจขั้นตอน โปรดจำไว้ว่าทุกกิจกรรมมีจุดเริ่มต้น กลางและจุดสิ้นสุด แสดงให้ลูกเห็นว่าจะหาไม้กวาดและที่ตักผงได้ที่ไหนและอย่างไร วิธีใช้ และวิธีเก็บ
สถานที่เก็บไม้กวาดจะขึ้นอยู่กับแต่ละบ้าน เช่นเดียวกับตำแหน่งของถังขยะและวิธีการทำงาน (ลูกสามารถถือที่ตักขยะแล้วเปิดถังขยะโดยใช้เท้าได้หรือไม่ หรือควรวางที่ตักขยะลง เปิดถังขยะ แล้วหยิบที่ตักขยะ เป็นต้น)
เมื่อลูกคุ้นเคยกับงานที่ทำอยู่ ให้เสนอความคิดเห็นและการสนับสนุนมากกว่าการชมเชย
การชมเชยมาพร้อมกับการตัดสินเกี่ยวกับสิ่งที่พ่อแม่คิด “แม่ภูมิใจในตัวลูกมากที่กวาดพื้น” หรือ “ขอบคุณที่กวาดพื้น” คำกล่าวชมเชยเหล่านี้เป็น External Locus of Control แสดงถึงความคิดของพ่อแม่ มากกว่าความคิดของลูก
แทนที่จะกล่าวชมเชย ให้พูดสิ่งที่เห็นและความหมาย สิ่งนี้ช่วยให้ลูกสร้างความประทับใจและการตัดสินในสิ่งที่เขาทำ ส่งเสริม Internal Locus of Control แสดงความคิดเห็นในเชิงบวก “ลูกกวาดพื้น.. เศษขยะทั้งหมดหายไปแล้ว ทุกอย่างสะอาดหมดจด”
ถ้าลูกลือกที่จะไม่ทำงานนั้น งอแง ร้องไห้ หรือมีข้ออ้างต่างๆนาๆ ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาที่พ่อแม่หลายคนต้องเผชิญ ก่อนที่คุณจะทำหรือพูดอะไร ให้สงบสติอารมณ์และใช้ความคิด ถามตัวเองว่าลูกรู้หรือไม่ว่าอะไรคือสิ่งที่คาดหวังและจะทำให้สำเร็จได้อย่างไร? ถ้าใช่ ก็ควรชัดเจน รวดเร็ว เด็ดขาด และที่สำคัญที่สุดคือให้ความเคารพ
ตัวอย่างเช่น “เมื่อหนูกลับไปกวาดพื้น หนูจะมาเล่นกับพ่อแม่ที่นี่” อย่าพูดซ้ำหรือขอร้องหรือตะโกน ให้เวลาลูกแต่อย่ายอมแพ้ สิ่งที่พ่อแม่ต้องทำคือการตอบสนองอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ลูกรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของตัวเอง โปรดจำไว้ว่าพฤติกรรมของลูกเป็นปัญหาของลูก ไม่ใช่ของพ่อแม่
หากลูกมีปัญหาในการทำสิ่งที่เขารู้ว่าพ่อแม่คาดหวังจากเขา ลูกอาจจะเผชิญกับช่วงเวลาที่ยากลำบากในการเปลี่ยนแปลง วิธีการแก้ไขปัญหาคือทำสิ่งต่างๆให้เรียบง่าย มีกิจวัตรที่ปฏิบัติเป็นประจำ และพูดคุยเกี่ยวกับความคาดหวังล่วงหน้า
สมมติว่าคาดหวังให้ลูกกวาดพื้นหลังทานอาหารเย็นเสร็จ (โดยพ่อแม่ได้แสดงให้ลูกเห็นแล้วว่าต้องทำอย่างไรและเตรียมอุปกรณ์ที่เหมาะสมไว้พร้อม)
-ชุดทำความสะอาดเด็ก-https://bit.ly/3wsOR0f
ระหว่างรับประทานอาหาร ให้พูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป “เราทานอาหารเย็นใกล้จะเสร็จแล้ว และหลังอาหารเย็น เราทุกคนก็มีงานต้องทำ พ่อจะนำจานไปที่อ่างล้างจาน แม่จะล้างจาน และลูกจะกวาดพื้น”
หรือหากคุณอยู่ในรถระหว่างทางกลับบ้าน และคาดหวังว่าจะให้ลูกเก็บรองเท้าเมื่อถึงบ้าน (บนชั้นที่ลูกวางถึง)
ให้จัดการเรื่องนี้เมื่อคุณกำลังจะลงจากรถ “เมื่อลูกเก็บรองเท้าแล้วลูกก็เล่นได้” (หรือ “ก็กินขนมได้” หรือกิจกรรมอะไรก็ตามในแต่ละบ้าน)
การใช้กลยุทธ์ “เมื่อลูก... แล้วลูก…” นี้ แทนที่จะพูดว่า “ลูกเก็บรองเท้าด้วยนะ” จะทำให้ลูกมีโอกาสพัฒนาเจตจำนง (Development of the Will)โดยคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป แทนที่จะได้รับคำสั่งว่าต้องทำอะไร
หรือเมื่อคุณกับลูกมาถึงประตูบ้านกับ คุณสามารถพูดออกมาดังๆว่าคุณกำลังทำอะไรเพื่อเป็นแบบอย่างให้ลูก “แม่กำลังเก็บรองเท้าของแม่” เป็นการแนะที่ดีที่ลูกจะได้เห็นพ่อแม่ทำในสิ่งที่คาดหวังให้ลูกทำ
แต่ถ้าลูกเข้าไปในบ้าน โดยถอดรองเท้าวางเกะกะไว้หน้าบ้าน และทำกิจกรรมต่อไป พ่อแม่ก็สามารถเข้าไปบอกลูกได้ เพียงแค่สบตาสั้นๆ ใช้น้ำเสียงปกติโดยไม่แสดงความโกรธ แล้วพูดว่า “ลูกต้องทำอะไรเวลาเข้าบ้านก่อนที่จะไปเล่น?” หรือ “กฎในบ้านของเราเวลาก่อนเข้าบ้านคืออะไร”
อย่าปล่อยให้ลูกทำกิจกรรมต่อไปจนกว่าเรื่องนี้จะสำเร็จ (ต้องเป็นสิ่งที่พ่อแม่เคยแสดงให้ลูกดูและบอกว่างานคืออะไรตั้งแต่แรก)
เราไม่สามารถขอให้เด็กปฏิบัติตามสิ่งที่เขาไม่รู้ว่าเป็นสิ่งที่คาดหวัง แต่เมื่อพวกเขารู้แล้วให้ถือเป็นความรับผิดชอบของลูก
#วิธีสอนลูกให้มีความรับผิดชอบ
#ความรับผิดชอบของลูก
#วิธีแก้ปัญหาการขาดความรับผิดชอบ
#กิจกรรมฝึกความรับผิดชอบ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น